การ Backup คืออะไร???
การ Backup คืออะไร???
Backup คืออะไร? แล้วทำไมถึงต้อง Backup?
การ Backup คือการสร้างข้อมูลอีกชุดหนึ่ง ซึ่งเหมือนกับข้อมูลชุดที่คุณกำลังใช้งานอยู่
แต่เก็บแยกออกจากกัน เพื่อป้องกันการเสียหายของข้อมูล
ข้อมูลทุกชนิด สามารถ Backup ได้เช่น: เอกสาร, รูปภาพ, เพลง, วีดีโอ หรือแม้แต่คอมพิวเตอร์ทั้งเครื่อง ก็สามารถ Backup ได้ เป็นต้น.
ปัจจุบันมีอุปกรณ์ในการบันทึกข้อมูลอยู่มากมายให้เลือกใช้งาน
ไม่ว่าจะเป็น External Hard Disk, NAS, หรือจะเป็น Cloud Storage
ทั้งนี้การเลือกใช้งานควรจะพิจารณาจากจำนวนของข้อมูลที่ต้องการ Backup ความสำคัญของข้อมูลนั้นมีมากน้อยแค่ไหน
วิธีการ Backup ที่ง่ายที่สุด
เริ่มจากการ Backup ภายในตัวเครื่องก่อน
เพื่อความเร็วในการสำรองข้อมูล (Backup) และความเร็วในการกู้ข้อมูล (Restore)
แต่วิธีการแรกนั้น ยังถือว่าไม่มีความปลอดภัยมากเพียงพอ
เพราะถ้าเกิด Hardware มีปัญหา ไฟล์ Backup ที่เราทำไว้ก็จะเสียหายไปด้วย
จึงได้มีการแนะนำให้ทำการ Backup แยกออกจากตัวเครื่องไปยังที่อื่น
เช่น: การ Backup ออกไปที่ External Hard Disk
เท่านี้เราก็จะมี Backup Data มากขึ้นเป็น 2ที่
แต่การ Backup บน External Hard Disk ก็ยังคงไม่ปลอดภัยพอ
เพราะโอกาศที่จะเกิดความเสียหาย ก็ยังคงเกิดขึ้นได้
เลยเป็นที่มาของการนำ NAS (Network-attached Storage)
เพราะสามารถเชื่อมต่อผ่านระบบ Network และมีการใช้งาน Hard Disk
มากว่า 1ลูก เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและความเร็วในการสำรองข้อมูล
พอเริ่มใช้งานระบบ Backup บน NAS ก็ทำให้มีความจำเป็นที่ต้องเลือก
โปรแกรมสำหรับใช้สำรองข้อมูล เพราะโปรแกรมแต่ละเจ้าจะมีความเก่ง
และโดดเด่นไม่เหมือนก้น ขึ้นอยู่กับการใช้งานและระบบ OS ที่เราใช้
การใช้โปรแกรม Backup เข้ามาช่วยดูแลจะมีหลากหลายอย่าง
เช่น: ทำ schedule การสำรองข้อมูลได้ หรือ เลือกการสำรองข้อมูลแบบ
เป็นทั้งก้อน หรือแค่ส่วนท่ีมีการเปลี่ยนแปลงของข้อมูล
เพื่อเพิ่มความรวมเร็วในการ Backup
ข้อดีของการมีระบบ Backup ที่ดี นอกจากจะช่วยให้เรากู้ข้อมูลที่มีการทำผิดพลาด
ไปได้แล้วนั้น ยังช่วยให้เรารอดพ้นจากการที่ต้องจ่ายเงินให้กับบรรดา Hacker
เพราะเมื่อระบบเราโดน Ransomware เข้าโจมตี
แต่ระบบ Backup เรามีการเก็บข้อมูลไว้ครบ
เราก็สามารถกู้ข้อมูล หรือขึ้นระบบใหม่ได้ทันที
โดยที่ไม่ต้องง้อการปลดล๊อตจาก Hacker
กฎ 3-2-1 Backup Rule มีอะไรบ้าง
กฎ 3-2-1 Backup Rule นี้มีใจความหลักๆ ด้วยกัน 3 ข้อสั้นๆ ได้แก่
แนะนำให้มีการเก็บข้อมูลสำคัญเอาไว้ 3 ชุดเป็นอย่างน้อย ได้แก่ข้อมูลหลักต้นฉบับ 1 ชุด และข้อมูลสำรองอีก 2 ชุด (จะได้กระจายข้อมูลไปเก็บหลายๆ อุปกรณ์ได้)
ควรเก็บไฟล์เหล่านั้นเอาไว้บนอุปกรณ์ที่แยกขาดจากกัน 2 ประเภทเป็นอย่างน้อย (หากอุปกรณ์หนึ่งเสีย อีกอุปกรณ์จะได้ยังคงไม่เสียไปด้วยปัจจัยเดียวกัน)
ข้อมูลสำรองชุดหนึ่ง ควรนำไปเก็บไว้ที่ต่างสาขา หรือสำรองเอาไว้แบบ Offline เป็นอย่างน้อย (หากเกิดเหตุใดๆ ขึ้นกับสถานที่หนึ่ง จะได้ยังคงมีข้อมูลสำรองที่ปลอดภัยจากเหตุนั้นๆ)
อะไรบ้างที่จะทำให้ข้อมูลสูญหายไปได้?
ทาง PSS Groups ได้สรุปเหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจทำให้ข้อมูลเสียหายได้เอาไว้ ดังนี้
อุปกรณ์เสียหาย
ถูกไวรัสโจมตี
ตกเป็นเป้าประสงค์ร้ายจาก Hacker หรือผู้ไม่หวังดี
เกิดความผิดพลาดของซอฟต์แวร์ในระดับ Volume และ Directory
เกิดความผิดพลาดในการส่งข้อมูล
ปัญหาจากระบบไฟฟ้า
การถูกขโมยอุปกรณ์หรือข้อมูล
ภัยจากไฟหรือน้ำ
เกิดความผิดพลาดจากผู้ใช้งานหรือผู้อื่น